จารึกนี้มีหลักฐานส้ัน ๆ ว่า พบที่เมืองเพนียด ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี แม้ว่าจะยังไม่เคยมีการอ่านแปมาก่อนหน้านี้ แต่จารึกก็ได้มีการกล่าวถึงในหนังสือ Inscritptions of Kambuja ของ R.C. Majumdar และในเรื่องจารึกบนเสาหินที่ตำบลพระบาท ของพระเจ้ายโสวรมัน พิมพ์เผยแพร่ในนิตยสารศิลปากร ปีที 22 เล่ม 4 ปีที่ 23 เล่ม 1 - 3 จึงนับว่าเป็นจารึกที่สำคัญหลักหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ในพุทธศตวรรษที่ 15 น้ัน บริเวณเมืองเพนียดนี้ เป็นแหล่งอารยธรรมมีฐานะเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของอาณาจักรกัมพูชา ดังจะเห็นได้จากข้อความในจารึก ซึ่งเหมือนกับจารึกอื่นอีก 11 หลัก พบที่พระตะบอง เสียมราบ นครจำปาศักดิ์ ตะโบงฆมุม บาพนม บันทายมาส และมาสัก ซึ่งมีลักษณะการจารึกอักษร และข้อความในจารึกเหมือนกันเกือบทุกประการ คือ ด้านที่ 1 จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ประพันธ์เป็นโศลกภาษาสันสกฤต
49 บท มีข้อความร้อยแก้วภาษาเขมรส้ัน ๆ จารึกไว้ตอนท้าย ส่วนด้านที่สองจารึกด้วยอักษรอินเดียเหนือ ภาษาสันสกฤตประพันธ์เป็นโศลก เนื้อความตรงกับด้านที่ 1 และมีโศลกสุดท้ายจารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ซึ่งตรงกับตำแหน่งของจารึกภาษาเขมรในด้านที่ 1 นั่นเอง