ศิลาจารึกเสาแปดเหลี่ยม เป็นจารึกที่ใช้รูปอักษรหลังอักษร "ปัลลวะ" ภาษามอญโบราณ ลักษณะรูปอักษรได้วิวัฒน์มาจากรูปอักษรปัลลวะ ใช้เป็นอักษรมอญในระยะเร่ิมแรก มีจารึกอักษรท้ังหมด 8 ด้าน เรื่องที่จารึกแบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ ตอนที่ 1 มีจารึกอักษร 11 บรรทัด ตอนที่ 2 มี 7 บรรทัด ตอนที่ 3 มี 3 บรรทัด ตอนที่ 4 มี 3 บรรทัด ระยะอายุกาลจารึก พุทธศตวรรษที่ 14 (ประมาณ พ.ศ. 1314 วัตถุที่ใช้จารึกเป็นหินชนวน รูปลักษณะเป็นเสาแปดเหลี่ยมหัวเสาทำเป็นรูป 4 เหลี่ยม จำหลักลวดลายขนาดความสูง 14.5 เซนติเมตร กว้างด้านละ 9 เซนติเมตร ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้กล่าวถึงเรื่องศิลาจารึกเสาแปดเหลี่ยมไว้ว่า ศิลาจารึกหลักนี้ พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ได้ไปพบอยู่ที่ศาลสูงเมืองลพบุรี แล้วให้ย้ายมารักษาไว้ในอยุธยาพิพิธภัณฑสถาน ภายหลังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ตรัสสั่งให้ส่งลงมาไว้ในหอพระสมุดฯ